วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557


ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge that has been)
วันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัวพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ 
 วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ

  1. เด็กพัฒนาเต็มศักยภาพ จนสามารถช่วยตนเองได้
  2. เพื่อให้บิดามารดามีความรู้ และนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บุตร
เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ

  1. เป้าหมายทั้วไป : เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีชีวิตอยู่ในสังคมได้
  2. เป้าหมายเฉพาะ : แสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ผลที่ได้ของการส่งเสริมพัฒนาการ

  1. พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การอ่าน คณิตศาสตร์และภาษาที่ดีขึ้น
  2. ช่วยตนเองได้มากขึ้น
  3. สังคมยอมรับมากขึ้น
  4. ลดปัญหาพฤติกรรม
Down's Syndrome (ดาวน์ซินโดรม)
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach) คือ ต้องพัฒนาทั้ง 4 ด้าน
  • แผนศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
Autistic (ออทิสติก) : ศึกษาเพิ่มเติม
  • ไม่มุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะความบกพร่องเพียงด้านเดียว ควรทำควบคู่กันไปเพราะเด็กจะได้ไม่รู้สึกเบื่อหรือด้อย
  • หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
  • กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy)
  • แผนศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
  • โรงเรียนพิเศษเฉพาะทาง คือ 
โรงเรียนเรียนร่วม : เพิ่มเติม 
 โรงเรียนคู่ขนาน : เพิ่มเติม

  • การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication : AAC) เพื่อใช้ทดแทนคำพูดเป็นการชั่วคราวเพิ่มเติม
  • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System : PECS) : ศึกษาเพิ่มเติม






ตัวอย่าง
ภาพโปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร


สรุป Mind Map


การนำความรู้ไปใช้ (Knowledge to)
  1. การดูแลเด็กในด้านต่างๆอย่างถูกวิธี
  2. การให้กำลังใจเด็กเป็นที่สำคัญที่พ่อแม่ควรมอบให้ และควรยอมรับความจริงเพื่อจะได้ส่งเสริมเด็กในทางที่ดีขึ้น
  3. พ่อแม่ต้องคอยเป็นกำลังให้ซึ่งกันและกัน  ไม่ควรทอดทิ้งบุตร
  4. การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอย่างถูกวิธี ควรส่งเสริมทั้ง 2 ด้านไปพร้อมๆกัน


การประเมิน (Assessmant)
  • ตนเอง (Myself) : 100% มาเข้าเรียนตรงเวลา เข้าใจเนื้อหาการสอนที่อาจารย์สอน ไม่ค่อยคุยหรือส่งเสียงรบกวนเพื่อน
  • เพื่อน (Compeer) : 100% เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจาร์ย์สอน จดบันทึก โต้ตอบซึ่งกันและกัน หรือแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
  • อาจารย์ (Teacher) : 100% เข้าสอนตรงเวลา อธิบายชัดเจน สไลด์อาจารย์เข้าใจง่ายไม่อัดแน่นจนเกินไป มีคำศัพท์เฉพาะให้นักศึกษาได้จดจำ หรืออักษรที่จำง่ายเป็นเทคนิคในการจำอีกรูปแบบหนึ่ง มีรูปภาพประกอบทุกครั้ง พร้อมทั้งวิดีโอทำให้รู้สึกเข้าใจเห็นภาพได้ชัดเจน

ครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2557



**เฉลยข้อสอบ**

  • วันนี้อาจารย์ได้บอกคะแนนสอบ พร้อมกับเฉลยข้อสอบด้วย

ซึ่งกลุ่มดิฉันที่ได้ Top scores นั้นคือ นายอรุณ  วางหลัก (ฟิต) ซึ่งได้ 53 คะแนน ส่วนตัวดิฉันนั้นก็ได้คะแนนเป็นที่น่าพอใจสมควร ได้เตรียมตัวอ่านหนังสือมา และมีการติวกับเพื่อนภายในกลุ่มก่อนเข้าห้องสอบ นายอรุณก็ช่วยบอกเพื่อนๆว่า อ่านภาษาอังกฤษทีเป็นชื่อโรค หรือ อาการมาด้วยนะ ก็ต้องขอบคุณเพื่อนที่ร่วมกันแชร์เคล็ดลับในการจำ
พอเวลาที่อาจารย์เฉลยข้อสอบมา ก็คิดว่าทำไมเราพลาดข้อนี้นะ ทั้งๆที่เราก็อ่านมา อาจเพราะตื่นเต้น หรือตอบไปแล้วแต่ไม่มั่นใจในคำตอบก็ลบ เป็นข้อสอบที่ยาก ถ้าใครไม่อ่านหนังสือมานี้มีหวังได้คะแนนน้อยมากเพราะเนื้อหาทั้งหมดอยู่ในหนังสือ




การนำเอาความรู้ไปใช้
  1. ความรู้ที่ได้จากการอ่านหนังสือ ทำให้เกิดความจำ ความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือที่เราอ่านเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น
  2. รู้ว่าอาการบางอย่างก็ยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่เจอ มีแต่ตั้งข้อสมมติฐานเอาไว้
  3. วิธีการดูแลเด็กที่ถูกต้อง คุณครูผู้สอนต้องมีความรู้พื้นฐาน ไม่ควรปัดความรับผิดชอบ ต้องคอยร่วมมือกับผู้ปกครองของเด็กด้วย เพราะผู้ปกครองบางท่านก็คิดว่าลูกของตนเองปกติเหมือนคนอื่นๆ
  4. การเลี้ยงดูไม่ได้ปัจจัยสำคัญ

การประเมิน (Assessment)
  • ตนเอง ( Myself ) : 100% เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ข้อสอบอาจารย์ยากมากตรงที่มีโจทย์และตัวเลือกเป็นภาษาอังกฤษซึ่งหนูอ่านมา แต่ไม่ได้จำเลยว่าคือ ชื่ออาการอะไรซึ่งรู้สึกว่าทำไมนะถึงลืมได้ แต่ก็ถือว่าทำเต็มที่มากๆเลย รู้สึกมั้นใจมากกับคำตอบแต่พออาการเฉลยมาพร้อมกับอธิบายไปทีละข้อ ทำให้เข้าใจเพิ่มมากขึ้น
  • เพื่อน ( Friends) : 100% เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์เฉลยข้อสอบ มีบางส่วนบ้างที่เข้าเรียนช้า ร่วมกันตอบข้อสอบ พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลว่าทำไมถึงคิดเช่นนั้น เพื่อนบางคนก็บอก พลาดไปแล้วสำหรับข้อนี้ บางทีก็เหมือนเป็นไปได้ แต่ก็ถือว่าคะแนนเพื่อนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
  • อาจารย์ (Instructor) : 100% อาจารย์มาสอยตรงเวลา พาเฉลยข้อสอบไปอาจารย์ก็บอกไม่ค่อยชินที่นักศึกษาไม่ส่งเสียงคุยกัน อาจารย์ไม่ค่อยชิน ซึ่งจะเป็นเพราะรับประทานมา แล้วรู้สึกง่วงๆซึมๆก็เป็นได้ อาจารย์อธิบายได้ชัดเจนในแต่ล่ะข้อ


วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2557



สอบกลางภาค

การประเมิน
  • ตนเอง : 95% มาสอบตรงเวลา ได้เตรียมตัวในการหนังสือสอบมาอย่างดี แต่จะจำพวกศัพท์ภาษาอังกฤษไม่ค่อยแม่นยำ ทำให้พลาดข้อสอบไปบ้างหลายข้อที่ออกมาเป็นภาษาอังกฤษ แต่กลุ่มของดิฉันก็จะมีการติวกัน ใครอ่านเนื้อหาตรงไหนก็จะเล่าให้เพื่อนฟัง และเล่นเกมถาม - ตอบกัน เพื่อจะได้กระตุ้นความจำ เพื่อนที่จำไม่ได้หรือไม่ได้อ่านมา ก็จะได้ความรู้ไปด้วย ซึ่งถ้าใครไม่ได้อ่านหนังสือสอบมา อาจจะทำไม่ค่อยได้ เพราะข้อสอบที่อาจารย์ออกนั้นมีตามในเอกสารเลย ช่วงในการทำข้อสอบ ตื่นเต้นมาก มีหลายข้อที่อ่านแล้วงง นั่งอ่านซ้ำ ทวนไปมาเหมือนกัน คะแนนที่ออกมาน่ายินดี อยู่ในระดับดีสมควร และแอร์ในห้องหนาวมาก บ้างทีอาจทำร้ายสมาธิในการทำข้อสอบก็เป็นได้
  • เพื่อน : 100% เพื่อนทุกคนตื่นเต้นมาก ใจจดใจจ่อกับการสอบ อาจมียุกยิกบ้าง เพื่อนดูเตรียมพร้อมมาอย่างดี มีปรึกษา แชร์เคล็ดลับซึ่งกันและกัน บ้างคนไม่ได้อ่านตรงนี้มา เพื่อนก็ช่วยกันเสริม พอเข้าห้องสอบ เพื่อนๆดูตกใจนิดๆ เมื่อเจอข้อสอบ ข้อสุดท้าย แต่คิดว่าเพื่อนทำได้แน่นอน คะแนนที่ออกมา อยู่ในระดับที่ดีกันเลยทีเดียว
  • อาจารย์ : 100% ข้อสอบที่อาจารย์ออกนั้น  ถือว่าเป็นข้อสอบที่ดี ตรงตามที่อาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบไป 


ครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2557


ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เรียนเรื่องประเภทเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)
1.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) : Cick
1.1.ความวิตกกังวล (Anxiety) : ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
1.2.ภาวะซึมเศร้า (Depression) 
1.3.ปัญหาทางสุขภาพ : ขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
2.เด็กสมาธิสั้น (ADHD) Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorder : Cick
2.1.Inattentiveness : สมาธิสั้น
2.2.Hyperactivity : อยู่ไม่นิ่ง  
2.3.Impulsiveness : หุนหันพลันแล่น


3.เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Disabilities) : Cick
สาเหตุของความพิการซ้อนมักเกิดจากความผิดปกติของสมอง ซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมของระบบประสาทบางส่วน
สรุป Mind Map 




การนำเอาความรู้ไปใช้
  1. รักและดูแลเอาใจใส่ในตัวของเด็ก ที่สำคัญต้องอดทน
  2. เมื่อให้ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ไม่ควรคาดหวังว่าเด็กจะทำได้ทันที 
  3. ควรส่งเสริมในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เพียงแค่จะพัฒนาในสิ่งที่ด้วย แต่ควรพัฒนาสิ่งที่ดีไปพร้อมๆกัน
  4. ควรพัฒนาเด็กให้ครบทั้ง 4 ด้านไปพร้อมๆกัน
การประเมิน
  • ตนเอง : 100% มาเรียนตรงเวลา ไม่ส่งเสียงรบกวนเพื่อน ท้ายคาบอาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบ
  • เพื่อน : 100% ตั้งใจเรียนดี วันนี้เพื่อนไม่ค่อยคุยกัน ทุกคนสนใจในสิ่งที่อาจารย์สอน
  • อาจารย์ : 100% มีเนื้อหาการสอนที่เข้าใจง่าย อาจารย์จะมี VDO มาให้ดูตลอด เพิ่มเติมจากเนื้อหาบางส่วนที่อาจยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด



ครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2557



ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เรียนเรื่องเด็กพิเศษ 2 กลุ่มด้วยกัน

1.  เด็กที่มีความบกพร่องการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) : Cick

เรียกย่อๆว่า L.D. (Learning Disabilities) : Cick เป็นเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้เฉพาะอย่าง คือ
1.1.ด้านการอ่าน (Reading Dislexia)
1.2.ด้านการเขียนและการสะกดคำ (Writing Disgraphia) 
1.3.ด้านการคำนวณ (Writing Discalculia)
 1.4.หลายๆด้านรวมกัน

การใช้กระบวนการ 6 ขั้นพัฒนาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้


ที่มา : YouTube


2.  ออทิสติก (Autistic) : Cick โรคนี้จะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต รักษาไม่หาย
คำนิยาม : "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"

 โครงการอาชาบำบัด (กรมการสัตว์ทหารบก)


ที่มา : YouTube

สรุป Mind Map



การนำเอาความรู้ไปใช้
  1. เราสามารถที่จะเจอเด็กเหล่านี้ได้ตามห้องเรียน เราควรมีสติทุกครั้งที่ได้สอนเด็กเหล่านี้ เช่น เด็กออทิสติก มักจะมีอารมณ์ที่รุนแรง
  2. ควรให้ความรู้ ให้กำลังใจกับผู้ปกครองของเด็ก เพื่อเป็นการช่วยดูแลเด็กได้ดี
การประเมิน
  • ตนเอง : 95% อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน เข้าใจง่าย มี VDO ประกอบการสอนสามารถเห็นภาพได้ชัดเจน ขณะบรรยายอาจารย์ก็ทำท่าทางเด็กตามอาการซึ่งดูน่ารัก ทำให้รู้สึกไม่เครียด
  • เพื่อน : 96% เพื่อนๆชอบเรื่องหรือเหตุการณ์ต่างๆที่อาจารย์ยกตัวอย่างในห้องเรียน
  • อาจารย์ : 100% อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีเทคนิคในการสอนดี ทำให้นักศึกษาตื่นเต้นในการที่อาจารย์แสดงท่าทาง




ครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2557
(สอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม)








ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557



ความรู้ที่ได้รับ
มาอบรมในหัวข้อเรื่อง "จิตอาสาตามรอยแนวคิดเศษฐกิจพอเพียง" โดยมีท่านวิทยากร คือ คุณทฤษฎี  สหวงษ์ (พี่ปอ)




ปอ ทฤษฎี- หนังสั้น Through the Eyes of Us



ที่มา : Youtube